ในช่วงที่เป็นสาวสะพรั่ง ไฮพาเทียออกเดินทางสู่โลกกว้าง ไปศึกษาต่อถึงกรุงเอเธนส์ และอิตาลี ซึ่งเป็นดินแดนสำคัญแห่งศิลปวิทยาในสมัยนั้น และเมื่อกลับมาอียิปต์อีกครั้ง เธอก็ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลสถาบันนีโอพลาโตนิส ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่ง และพัฒนาให้สถาบันแห่งนี้มีความเป็น "โรงเรียน" ที่ถูกยกระดับมากขึ้น ส่งเสริมความคิดและการพัฒนามากขึ้น จนมีผู้เรียนล้นหลาม ในขณะที่ตัว "อาจารย์ใหญ่" อย่างไฮพาเทียเองก็ขจรขจายชื่อเสียงในฐานะครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ลูกศิษย์ทั้งหญิงชาย ที่เชื่อมั่นในตัวอาจารย์กันมาก ทำให้ไฮพาเทียเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดของคนหนุ่มสาวสิ่งที่ไฮพาเทียสอน มีทั้งวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ ปรัชญา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิชาที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของพลาโต และอริสโตเติล และหากจะกล่าวรวมๆแล้ว สิ่งที่ไฮพาเทีย พยายามเผยแพร่แนวคิดออกไป คือสิ่งที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์" ซึ่งแตกต่างอย่างสุดกู่จากโรงเรียนอื่นๆในสมัยนั้น ที่เน้นการสอนเรื่องปาฏิหาริย์ การบวงสรวงแก่ปวงเทพ หรือสิ่งลึกลับที่พิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไฮพาเทียปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงนอกจากงานสอนแล้ว ไฮพาเทียยังเป็นนักประดิษฐ์ตัวยง แม้ในภายหลังเอกสารและอุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ของเธอจะสูญหายไป แต่ก็พอจะมีเค้าเรื่องที่เล่าต่อกันมาว่า ไฮพาเทียเป็นผู้คิดประดิษฐ์ เครื่องกลั่นน้ำ เครื่องวัดระดับน้ำ และที่สำคัญคือ เครื่องวัดตำแหน่งดวงดาว อันมีความสัมพันธ์กับโลก ดวงอาทิตย์ ซึ่งนี่เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ แต่ความรู้และคำสอนเหล่านี้ ก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของคริสต์ศาสนา ซึ่งในอดีตยังไม่ค่อยเปิดรับวิทยาศาสตร์ ไฮพาเทียจึงเป็นเหมือนผู้ที่ยืนท้าทายคริสตจักรแม่ครูสาวถูกมองว่าเป็นพวกนอกรีต โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วง ค.ศ.412 หลังจากที่ไซริลพระผู้ใหญ่ที่มีอิทธิพลสูงผู้หนึ่งได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจทางศาสนจักร
ทางด้านวิทยาศาสตร์ ไฮพาเทียได้รับเกียรติให้นำชื่อของเธอไปตั้งเป็นชื่อดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1884 รวมถึงทุกครั้งที่เราแหงนหน้ามองดวงจันทร์ เราก็ยังอาจจะเห็นเงาของเธออยู่บนนั้น เนื่องจากมีการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตหลุมหนึ่งบนดวงจันทร์ว่า ไฮพาเทีย เราจึงไม่อาจจะลืมเธอได้ตลอดกาล...แด่เธอ...แด่ความจริง...แด่ไฮพาเทีย.ทางด้านวิทยาศาสตร์ ไฮพาเทียได้รับเกียรติให้นำชื่อของเธอไปตั้งเป็นชื่อดาวเคราะห์น้อยที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1884 รวมถึงทุกครั้งที่เราแหงนหน้ามองดวงจันทร์ เราก็ยังอาจจะเห็นเงาของเธออยู่บนนั้น เนื่องจากมีการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตหลุมหนึ่งบนดวงจันทร์ว่า ไฮพาเทีย เราจึงไม่อาจจะลืมเธอได้ตลอดกาล...แด่เธอ...แด่ความจริง...แด่ไฮพาเทีย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น