หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)

Florence

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1820 ในตระกูลคหบดี ที่เมือง ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้รับการอบรมเลี้ยงดูตามแบบชาวอังกฤษ มีการศึกษาดี สามารถเรียนรู้และพูดได้หลายภาษา มิสฟลอเรนซ์ เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และสนใจศึกษาหาความรู้ที่จะเป็นพยาบาลในขณะอายุ 20 ปี แต่ในขณะนั้นสตรีที่เรียนวิชาพยาบาลหรือเป็นพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มี การศึกษาน้อย และมาจากครอบครัวที่ยากจน ทำให้มีกิริยามารยาทไม่ดีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม บิดามารดาของมิสฟลอเรนซ์จึงไม่อนุญาตให้ศึกษาเล่าเรียน วิชาชีพพยาบาลและพยายามหันเหความสนใจของมิสฟลอเรนซ์ไปสู่งานสังคมและให้ท่อง เที่ยวไปยังเมืองต่างๆในยุโรป การที่ได้มีโอกาสได้ท่องเที่ยวเมืองต่างๆนี้เองทำให้มิสฟลอเรนซ์ได้มีโอกาส เยี่ยมชมโรงพยาบาลต่างๆในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม อิตาลี และอีกหลายแห่ง ทำให้ได้เห็นการจัดการโรงพยาบาล การจัดการพยาบาลตามแบบนิกายโปรแตสแตนท์ ที่ผู้ปฏิบัติการพยาบาลไม่ต้องบวชชีตามแบบซีเดคอนแนส ทำให้สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้กว้างขวางขึ้น มิสฟลอเรนซ์ได้ตัดสินใจเข้าเรียนพยาบาลอีกครั้ง เมื่ออายุได้ 14 ปี แต่ก็ยังไม่ได้รับการยินยอมจากครอบครัว ต่อมาปี ค.ศ.1850 อายุครบ 30 ปี จึงได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนวิชาชีพพยาบาล และได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นเวลา 4 เดือน
ค.ศ.1853 มิสฟลอเรนซ์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลสถานที่เจ็บป่วยของสุภาพสตรีในประเทศ อังกฤษ ซึ่งได้รับการยกย่องมาก ค.ศ.1856 โรงพยาบาล King?s College ขอให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลแต่ยังไม่ได้ประจำทำงานก็เกิดสงครามไค รเมีย เป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับอังกฤษ ฝรั่งเศสและตุรกี กองทัพของอังกฤษมีบุรุษพยาบาลเป็นผู้ดูแลทหารที่บาดเจ็บ แต่บุรุษพยาบาลเหล่านั้นไม่ได้รับการฝึกหัดสำหรับดูแลทหารบาดเจ็บจากสงคราม การทำงานจึงไม่มีประสิทธิภาพ แต่กองทัพรัสเซียและตุรกี จะมีแม่ชีทางศาสนาติดตามไปในกองทัพ เพื่อ
ให้การดูแลทหารที่บาดเจ็บ ประเทศอังกฤษจึงได้ร้องขอให้ประชาชนเข้าช่วยเหลือ มิสฟลอเรนซ์จึงตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ มิสฟลอเรนซ์พร้อมสตรีอาสาสมัครที่จะช่วยพยาบาลทหารอีก จำนวน 38 คน จึงเข้าประจำทำงานดูแลทหารบาดเจ็บที่โรงพยาบาลแบแรท ในเมืองสคูตารี่ โรงพยาบาลมีผู้บาดเจ็บมากถึง 3,000-4,000 คน อยู่รวมกันอย่างแออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี ห้องน้ำห้องส้วมสกปรก น้ำหายาก ที่บอนปูพื้น ผ้าปูที่นอนหนแข็งและไม่มีผงซักฟอก เสื้อผ้าทหารบาดเจ็บไม่มีเปลี่ยนต้องใส่เสื้อเปื้อนเลือดและเหงื่อ อาหารไม่เหมาะสม รับประทานอาหารด้วยมือ น้ำดื่มไม่เพียงพอ มีหนูและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เกิดโรคระบาดขึ้น เช่น อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ ผู้บาดเจ็บมีอัตราการตายสูงถึง 42% ในเวลากลางคืน ต้องนอนในความมืด ไม่มีใครดูแล ไม่มีแสงสว่าง
มิสฟลอเรนซ์ได้ปฏิรูปงานโรงพยาบาลเกือบทุกด้าน ใช้เวลา 6 เดือน สามารถลดอัตราการตายลงเหลือ 2% และศัลแพทย์ก็พอใจการปฏิบัติของมิสฟลอเรนซ์มาก ค.ศ.1855 มิสฟลอเรนซ์และแม่ชีคาทอลิกอีก 3 คน เดินทางไปสถานพยาบาลในเมืองมาลาคาวา ในแหลมไครเมียร์ ได้ปรับปรุงการพยาบาลให้ดีขึ้น และกลับมายังโรงพยาบาลในเมืองสคูตารี่ เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บต่อจนถึง ค.ศ.1856 สงครามไครเมียร์ก็สงบลง โรงพยาบาลต่างๆก็ปิดตัวลง พยาบาลทั้งหมดกลับประเทศอังกฤษ มิสฟลอเรนซ์กลับถึงอังกฤษเป็นคนสุดท้ายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1856
จากความรู้ความสามารถและความเสียสละโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก นับเป็นการปฏิบัติต่อเพอนมนุษย์อย่างยิ่งใหญ่ ลองเฟลโล(Longfellow) ได้ประพันธ์โคลง ?ซานตา ฟิโลมินา? สรรเสริญความดีงามและความเสียสละของมิสฟลอเรนซ์ว่าเป็น ?สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป? (The Lady of the Lamp) ต่อมาชาวอังกฤษได้รวบรวมเงินตั้งเป็นทุนไนติงเกล เพื่อเทิดพระเกียรติและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของพยาบาลด้วยทุนดั
งกล่าว ใช้จ่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาและปรับปรุงการพยาบาลให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ค.ศ.1860 มิสฟลอเรนซ์ได้เลือกโรงพยาบาลเซนต์โทมัส(St.Thomus) ที่กลุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นโรงเรียนพยาบาลไนติงเกล ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ใช้เงินทุนจากมูลนิธิไนติงเกลในการบริหารกิจการของโรงเรียนและมีมิสซี วอร์ดโรพเปอร์ (Mss.Wardroper) เป็นผู้บริหารงานการสอนพยาบาลโรงเรียนพยาบาลไนติงเกล ใช้เวลาศึกษานาน 3 ปี จัดการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาก็จะต้องเป็นบุคคลที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีความรู้ และต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน โรงเรียนพยาบาลไนติงเกลได้ผลิตพยาบาลแล้วไปก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลในหลายๆ ประเทศ ตามแบของมิสฟลอเรนซ์ไนติงเกล โดยเน้นหลักการศึกษาไว้หลายประการ เช่น ต้องเป็นอาชีพเกี่ยวแก่ศาสนาหรือมนุษยธรรม ต้องก้าวหน้าอยู่เสมอ เพราะวิชาชีพพยาบาลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีการฝึกหัด ต้องมีระเบียบวินัย ที่อยู่อาศัยสะอาด ฝ่ายการบริหารและบริการต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ต้องประสานกันเพื่อประสิทธิภาพของงาน
ทางด้านงานหนังสือ หลังสงครามมิสฟลอเรนซ์ได้เขียนหนังสือ ?Note on Hospitals? พิมพ์ออกเผยแพร่ กล่าวถึงโรงพยาบาลที่สวยแต่ยังบกพร่องในการจัดแผนผังเกี่ยวกับสุขาภิบาลและ ของเครื่องใช้ที่เหมาะสมในการรักษาพยาบาล ต่อมาได้เขียนหนังสือ ?Notes on Nursing? หนังสือเล่มนี้ได้ใช้เป็นมาตรฐานในการอบรมถึงปัจจุบัน และมีข้อความที่เป็นอมตะต่องานปฎิบัติการพยาบาล เช่น ?การมองดูผู้ป่วยไม่เรียกว่าได้ใช้
ความสังเกต การเห็นสิ่งใดต้องใช้การฝึกฝน การเห็นนี้จะช่วยให้พยาบาลทำในสิ่งที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย ความเป็นความตายของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการสังเกตที่ถูกต้องของพยาบาล?
มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ใช้ชีวิตในการช่วยกิจการของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั้งแต่ ค.ศ.1860 จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 90 ปี ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1910
Margarets FN grave
หลุมศพของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ในสุสาน
โบสถ์เซนต์มาร์กาเรต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น