จัตุรัสทราฟัลการ์ Trafalgar Square เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในใจกลางกรุงลอนดอน เป็นอนุสรณ์สถานของสงครามทราฟัลการ์หรือสงครามวอเตอร์ลูระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1805 มีอนุสาวรีย์นายพลเนลสัน และล้อมรอบด้วยอาคารสำคัญ เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะ โบสถ์เซนต์มาร์ตินอินเดอะฟีลด์
จัตุรัสแห่งนี้มีพื้นที่ขนาดใหญ่อยู่ใจกลางมหานครลอนดอน ทั้งที่ 4 ของจัตุรัส และยังมีถนนตัดผ่านซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข A4 ซึ่งถนนที่ล้อมทั้งหมดใช้ระบบการจราจรรถวิ่งทางเดี่ยว (One-way traffic system)
ใจกลางของจตุรัสนอกจากจะมีอนุสาวรีย์แนลสันตั้งอยู่ตรงกลางแล้ว ที่ฐานของอนุสาวรีย์นั้นยังมีงานประติมากรรมสิงโตสำริด 4ตัวล้อมรอบฐานของอนุสาวรีย์ ออกแบบโดย เซอร์เอ็ดวิน แลนเซียร์
หนึ่งในสี่ของ ประติมากรรมสิงโตสำริด ที่ใช้ส่วนผสมของโลหะจากปืนใหญ่ของฝรั่งเศส สิงโตทั้งสี่ตัวนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว ต่างพากันถ่ายรูปคู่กับสิงโต เพื่อเป็นที่ระลึก ว่าได้มาถึงลอนดอน
รูปสลักของสมเด็จพระเจ้าจอร์ซที่4 ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจตุรัส สร้างขึ้นในปี1840 สมัยรัชกาลของพระองค์ พระเจ้าจอร์จที่ 4 เป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ในการที่ทรงเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยตลอดพระชนม์ชีพ ในปี ค.ศ. 1797
รูปปั้นที่อยู่น้ำพุที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง คุณงามความดีของ ลอร์ดเจสิโค และลอร์ดบีทตี้ ผู้บัญชาการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่1
บนสนามหญ้าหน้าหอศิลป์แห่งชาติ มีอนุสาวรีย์สองรูปตั้งอยู่คืออนุสาวรีย์ของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของทางเข้าหอศิลป์ อีกรูปคืออนุสาวรีย์ของ จอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นของขวัญให้แก่อังกฤษมาจากมลรัฐเวอร์จิเนียซึ่งถูกทำขึ้นที่สหรัฐ อเมริกา จัตุรัสกลายมาเป็นจุดรวมตัวทางสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจสำหรับทั้งนักท่องเที่ยวและชาวลอนดอนเองอย่างรวดเร็ว
จากตรงกลางของจตุรัส สามารถมองเห็นหอนาฬิกาบิ๊กเบน สถานที่แห่งนี้เป็นที่ๆผู้คนพลุกพล่าน และยังใช้เป็นที่ทำการประท้วง ในเหตุการณ์สำคัญ ของกลุ่มชน อีกทั้งยังใช้เป็นที่ในการจัดงานและเฉลิมฉลองงานเทศกาลต่างๆที่สำคัญ และทุกๆเดือนธันวาคมรัฐบาลของประเทศนอร์เวย์จะส่งต้นคริสมาส์ตขนาดใหญ่ มาตั้งไว้ที่จตุรัสแห่งนี้เป็นประจำทุกปี เนื่องด้วยเป็นการแสดงความขอบคุณที่ประเทศอังกฤษทำให้สงครามโลกครั้งที่สอง ยุติลง
ต้นคริสมา์ส์ต จากประเทศนอร์เวย์ ที่ส่งมาเป็นของขวัญให้กับประเทศอังกฤษทุกปี ตั้งแต่ปี คศ.1947
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น