การทำ Pap เป็นการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องเพราะเป็นการตรวจโดยคนซึ่งอาจจะตรวจไม่พบ ส่วนใหญ่มักจะต้องตรวจร่วมกับการตรวจภายใน
การตรวจภายใน
การตรวจภายในหมายการที่แพทย์ตรวจระบบสืบพันธ์ของสตรีได้แก่ รังไข่ ท่อรังไข่ มดลูกซึ่งเป็นการตรวจประจำปี ซึ่งเป็นการตรวจประจำปี โดยมากมักจะตรวจ Pap ร่วมด้วย หากผู้ป่วยต้องการตรวจ Pap แพทย์จะตรวจ Pap ก่อนการตรวจภายใน
มะเร็งปากมดลูกจะมีการตรวจแรกเริ่มโดยการตรวจภายในและการทำ Pap test ซึ่งทำให้สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว เรามาจัก Pap test ว่าเป็นอย่างไร
ใครที่ต้องตรวจ Pap test
แน่นอนว่าต้องเป็นผู้หญิงและต้องอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ด้วย สมาคมโรคมะเร็งของอเมริกาได้แนะนำให้เริ่มตรวจ Pap หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไปแล้ว 3 ปี หรือมีอายุมากกว่า 21 ปีแม้ว่าจะไม่มีเพศสัมพันธ์ก็ให้ตรวจตามตารางข้างล่าง
อายุ | ความถี่ของการตรวจ |
21 - 29 | ให้ตรวจปีละครั้ง |
30 - 69 | ให้ตรวจทุก 2-3ปีหากการตรวจ 3 ครั้งหลังให้ผลปกติ |
70 และมากกว่า | ให้หยุดตรวจเมื่อการตรวจ 3 ครั้งหลังและ 10 ปีที่ผ่านมาผลการตรวจปกติ |
คำแนะนำของอเมริกา
- ผู้หญิงทุกรายควรจะได้รับการตรวจภายใน 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หลังจากนั้นให้ตรวจทุกปี
- ผู้ที่ตรวจภายใน 3 ครั้งผลปกติ ให้ตรวจภายในทุก 2-3 ปี
- ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 30 ปีให้ตรวจทุก 3 ปี
- ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เช่นผู้ที่มีภูมิอ่อนแอ หรือได้สาร diethylstilbestrol (DES) ให้ตรวจภายในทุกปี
- ผู้ที่ตัดมดลูกพร้อมปากมดลูกก็ไม่ต้องตรวจภายใน แต่ยังคงเหลือปากมดลูดก็ให้ตรวจตามปกติ
- ผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีและผลตรวจภายในปกติ 3 ครั้งใน 10 ปีก็ให้หยุดตรวจ แต่สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกก็ให้ตรวจภายในทุกปี
หากว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างล่างนี้จะต้องตรวจ Pap test ทุกปี
- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และมีเคยมีคู่หลายคน
- ปัจจุบันมีคู่ขาหลายคน
- คู่ขามีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีแฟนหลายคน
- เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก
- เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก
- เป็นโรคหูดหงอนไก่
- สูบบุหรี่
- ติดเชื้อ HIV
- เป็นคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนเช่น มะเร็ง
การตรวจภายในต้องเตรียมตัวอย่างไร
สำหรับท่านที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธุ์หรือตรวจครั้งแรกก็อาจจะทำใจยากสักหน่อย ส่วนผู้ที่เคยตรวจมาแล้วก็คงจะเข้าใจขั้นตอนและความจำเป็นวิธีการเตรียมตัวก่อนไปตรวจ Pap test
- ก่อนไปตรวจก็ควรทำความสะอาดภายนอกโดยใช้สบู่ธรรมดา ไม่ต้องใส่น้ำหอมหรือกลิ่น
- ควรสวมกระโปงหรือกางเกงหลวมๆที่สามารถถอดออกง่าย
- ไม่ควรจะไปเล่นกีฬาหรือไป shopping ก่อนการตรวจ
- ควรจะงดการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนการตรวจ 2 วัน
- ไม่ควรสวนหรือล้างภายในช่องคลอด
- ไม่ควรจะเหน็บยา
- ไม่ควรไปตรวจช่วงมีประจำเดือน ช่วงที่ดีที่สุดหลังมีประจำเดือน 5 วัน
วิธีการตรวจ
เมื่อท่านได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องการจะตรวจภายใน เจ้าหน้าที่ก็จะนำท่านไปพบแพทย์หลังจากซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วก็จะเข้าห้องตรวจภายในซึ่งเป็นห้องที่มิดชิดพอสมควร เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้ท่านเปลี่ยนกางเกงหรือกระโปงเป็นผ้าที่มีลักษณะเหมือนผ้าถุง เมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะนำท่านไปยังเตียงตรวจซึ่งไม่เหมือนกับเตียงตรวจที่ท่านเคยเห็น เมื่อนอนเตียงเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะให้ท่านวางเท้าไว้บนขาหยั่งซึ่งจะทำให้ท่านต้องแยกขาออก เจ้าหน้าที่จะเปิดผ้าถุง และนำผ้ามาคลุมและเปิดช่องไว้เพียงพอในการตรวจ หลังจากนั้นจะเรียกแพทย์มาตรวจ แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วจึงใส่ speculum เพื่อขยายช่องคลอด ด้วย speculum แพทย์จะอาศัยประวัติการมีเพศสัมพันธ์และประวัติการคลอดบุตร การใส่ speculum อาจจะสร้างความอึกอัดเล็กน้อย หลังจากนั้นแพทย์จะใช้ไม้ไปขูดเนื้อเยื่อที่ปากมดลูก และนำเซลล์นั้นไปส่งตรวจหามะเร็ง
การแปลผล
หลังจากที่แพทย์ส่งเซลล์ไปตรวจต้องใช้เวลารอสัก 2-3 วันผลรายงานที่ออกมามีดังนี้
- ปกติหรือ Normal หมายถึงตรวจไม่พบเซลล์ที่ผิดปกติ ดังนั้นไม่ต้องทำอะไรต่อ
- Atypical squamous cells of undetermined significance มีความผิดปกติของเซลล์แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบของปาดมดลูก แพทย์จะแนะนำให้มาตรวจซ้ำ
- Squamous intraepithelial lesion ลักษณะที่ตรวจพบจะมีโอกาศเป็นมะเร็งได้สูง แพทย์จะต้องนัดตรวจเพิ่มเติม
- Atypical glandular cellsหมายถึงมีเซลล์ที่ผลิตมูกมาก หากได้รับรายงานนี้แพทย์ต้องตรวจต่อ
- SIL—Low-grade Squamous Intraepithelial Lesion.หมายถึงมีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเซลล์ ภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อ HPV ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ
- HSIL—High-grade Squamous Intraepithelial Lesion. มีการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเซลล์ที่ชัดเจน หากไม่รักษาจะกลายเป็นมะเร็ง
- Squamous cancer or adenocarcinoma cells ผลออกมาแบบนี้ก็ต้องตรวจต่อว่าเป็นมะเร็งมากแค่ไหน เพื่อวางแผนการรักษา
เมื่อได้รับรายว่าว่าผลการตรวจ Pap แพทย์จะนัดมาตัดชิ้นเนื้อที่ปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน