หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

คำๆหนึ่งที่มีสามพยางค์ 

ความทรงจำ คือ สิ่งต่างๆที่เคยผ่านมา 

ความทรงจำ คือ ความสุขที่แสนมีค่า 

ความทรงจำ คือ ความเศร้าที่ไม่อยากจดจำ 

ความทรงจำ คือ อดีตที่ไม่มีวันหวนกลับ 

ความทรงจำ คือ อุปสรรคที่เคยพบพาน 

ความทรงจำ คือ วันวานที่แสนโหดร้าย 

ความทรงจำ คือ ความสนุกที่ไม่มีวันจางหาย 

ความทรงจำ คือ มิตรภาพจะคงอยู่ตลอดไป 

และอื่นๆอีกมากมายแล้วแต่ความคิดของคุณจะเป็นคนสร้างสรรค์คำออกมา 

ซึ่งทั้งหมดนั้น ก็ต่างรวมกันเป็น 

"ความทรงจำ คือ หนึ่งในบทเรียนของชีวิต" 

มาฝึกสมองเพื่อ เก็บความจำ ไม่ใช่เพื่อ กำความเจ็บ


หน่วยความจำของคนเรานั้นเชื่อมโยงกับหลาย ๆ ส่วนของสมอง ซึ่งไม่ต้องประหลาดใจเลยว่า หน่วยความจำเหล่านี้สามารถฝึกฝนได้ หลายคนอาจไม่รู้ว่าหน่วยความจำนั้นไม่ได้เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิด แต่มันถูกฝึกมาโดยตลอด 
ซึ่งเปรียบเทียบได้กับกล้ามเนื้อของคนเรา ยิ่งใช้ ยิ่งฝึกฝน ยิ่งแข็งแรง การฝึกฝนโดยการใช้เทคนิคเฉพาะจะช่วยให้เราสามารถเพิ่มความจำ และนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของเรามากมาย มาดูกันว่าเทคนิคที่ว่านี้คืออะไร


จากการศึกษาพบว่าความทรงจำของเราจะฟื้นกลับมาได้ดีขึ้นในตอนเช้า หลังจากที่ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านั้นในคืนก่อน หลังจากนั้นความทรงจำก็จะค่อย ๆ ลดลง ดังนั้นถ้าเราต้องการที่จะใช้สมองจำอะไรเพื่อนำมาใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ให้เราทำการทบทวนเพื่อบันทึกความจำในคืนก่อนที่เราจะใช้มัน


ถ้าเราต้องการจะบันทึกอะไรบางอย่างลงไปในหน่วยความจำของเราเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เราต้องมีการวิธีทบทวนสิ่งที่เราบันทึกลงไปอย่างเหมาะสม หมายความว่าทำอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งก็คือ
 - ทบทวน ครั้งในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ
 ทบวนครั้งที่สอง สัปดาห์หลังจากทบทวนครั้งแรก
- ทบทวนครั้งที่สาม เดือนหลังจากทบทวนครั้งที่สอง
- ทบทวนครั้งที่สี่ หลังจากเราได้ใช้ความรู้นั้น ๆ หลังจากทบทวนครั้งที่สอง



คนเราในทุกวันนี้ถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าอยู่ตลอดเวลา คนส่วนใหญ่พบว่าการที่จะนั่งเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในสถานที่เงียบ ๆ นั้น เป็นไปได้ยาก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ปกติที่พบได้ในปัจจุบัน ดังนั้นเราควรจะทำให้เราอยู่ในสภาพที่ถูกกระตุ้น ตัวกระตุ้นอาจจะเป็นเสียงดนตรีเบา ๆ เป็นต้น การกระตุ้นจิตใจเราด้วยเสียงดนตรีนั้น มันจะนำเราไปสู่สภาวะที่ไวมากยิ่งขึ้นต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 



การจดจำของเรานั้นจะพัฒนาเมื่อเรากระตือรือร้นที่จะจดจำสิ่งนั้น ๆ ตรงกันข้ามกับการจดจำแบบตั้งรับคือ เมื่อเราจดจำอะไรแล้วไม่ได้นำออกมาใช้อีก ดังนั้นการบันทึกความจำที่ดีคือ มีการทบทวนความทรงจำเหล่านั้นโดยการเขียน หรือ การพูดทวน หรือ แม้กระทั่งการได้ไปสอนคนอื่นต่อ


Mindmaps นั้นขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของคุณ ดังนั้นต้องใช้พลังงานความคิดอย่างมหาศาล การทำMindmaps นั้นจะทำให้สมองของเราได้มีการจัดระบบของข้อมูลที่เราได้เรียนรู้ และจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล ผลที่ตามมาคือ จะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น และทำให้เราสามารถนำความจำนั้นออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น