หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เกมเศรษฐีและเกมสแครบเบิล

เกมกระดานทั้งสองนี้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเมื่อต้นทศวรรษที่ ๑๙๓๐ โดยมิได้เป็นช่องทางหารายได้ของผู้ประดิษฐ์คิดค้น แต่คิดขึ้นเพื่อเล่นฆ่าเวลาในช่วงตกงานเท่านั้น ชาร์ลส์ บี แดร์โรว์วิศวกรว่างงานจากเมืองเจอร์มันทาวน์รัฐเพนซิลเวเนีย คิดประดิษฐ์เกมเดิมพันสูงเกี่ยวพันกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยให้ชื่อว่า เกมเศรษฐี” (Monopoly) ในท่ามกลางภาวะข้าวยากหมากแพงของช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression .. ๑๙๒๙-๑๙๔๐) ในสหรัฐอเมริกา ด้วยสภาพทางการเงินที่อัตคัดขัดสนกับสภาพจิตใจที่ละห้อยละเหี่ยในแต่ละวัน แดร์โรว์ใช้เวลาหลายๆ ชั่วโมงหมดไปกับการคิดค้นเกมกระดานสนุกๆ เพื่อไม่ให้ตัวเองว่างจนเกินไป เงินทองที่หาได้ยากเหลือเกินในชีวิตจริงกลับเป็นที่มาของการกำหนดให้การได้เงินจำนวนมหาศาลมาอย่างง่ายดายเป็นลักษณะเด่นของเกม ส่วนการล้มละลายของธุรกิจกับการยึดทรัพย์สินติดจำนองที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันในหน้าหนังสือพิมพ์ ก็เป็นที่มาของ โฉนด” “โรงแรมและ บ้านในเกมของแดร์โรว์ ซึ่งได้มาและเสียไปในชั่วพริบตาจากผลของการทอดลูกเต๋าในแต่ละคราว
         วันหนึ่งในปี .. ๑๙๓๓ ความคิดเรื่องเงินที่ได้มาอย่างง่ายดายและกรรมสิทธิ์ที่หลุดมือไปอย่างรวดเร็วเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อแดร์โรว์หวนรำลึกถึงคืนวันอันสดใสในอดีตเมื่อเขาไปพักร้อน เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซี ถนนสายสำคัญตลอดจนย่านการค้าชั้นนำในเมืองตากอากาศนี้ ได้ถูกจำลองมาไว้บนแผ่นกระดานของเกมเศรษฐี เพื่อนและครอบครัวของแดร์โรว์ชอบเล่นเกมนี้มาก ในปีค.. ๑๙๓๔ พวกเขาชักชวนให้แดร์โรว์นำเกมนี้ไปขายให้แก่บริษัทพี่น้องปาร์กเกอร์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายเกมต่างๆ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ แต่เมื่อผู้บริหารของบริษัทฯ ทดลองเล่นเกมเศรษฐีดูก็ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง โดยให้เหตุผลว่าเกมของแดร์โรว์น่าเบื่อ ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า แถมกติกาการเล่นยังยุ่งยากซับซ้อนเกินไป อย่างไรก็ดีแดร์โรว์ยังไม่หมดหวัง เพราะผู้บริหารห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในรัฐฟิลาเดลเฟียสนุกกับเกมของเขามาก และสั่งซื้อเกมเศรษฐีมาจำหน่ายในห้างทันทีด้วยเงินทุนก้อนหนึ่งที่หยิบยืมจากคนในครอบครัวและเพื่อนฝูงแดร์โรว์ได้ผลิตและจัดส่งเกมเศรษฐีจำนวน ,๐๐๐ ชุดไปจำหน่ายยังห้างดังกล่าว เมื่อบริษัทพี่น้องปาร์กเกอร์ทราบว่าเกมของแดร์โรว์ขายหมดอย่างรวดเร็ว จึงนำเกมมาทดลองเล่นอีกครั้งและได้ข้อสรุปใหม่ว่า เกมเศรษฐีกอปรด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ ดำเนินไปอย่างรวดเร็วทันใจ แถมยังเล่นง่ายอีกด้วย
          เกมเศรษฐีได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในปี .. ๑๙๓๕ และในไม่ช้าโรงงานของบริษัทพี่น้องปาร์กเกอร์ก็ผลิตเกมเศรษฐีออกสู่ตลาดถึง ๒๐,๐๐๐ ชุดต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ เชื่อว่าเกมเศรษฐีเจาะเฉพาะตลาดผู้ใหญ่เท่านั้น และคงฮิตอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน ปี ดังนั้นพอถึงปลายปี .. ๑๙๓๖ จอร์จ ปาร์กเกอร์ ประธานบริษัทฯ จึงได้มีคำสั่งให้หยุดการผลิตกระดานและชิ้นส่วนอื่นๆ ของเกมเศรษฐี เพื่อป้องกันการขาดทุนที่จะเกิดขึ้นจากยอดขายที่อาจตกลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ปรากฏว่ายอดขายของเกมเศรษฐีไม่ตกลงเลยแม้แต่น้อย และชาร์ลส์ แดร์โรว์ วิศวกรตกงานก็กลายเป็นมหาเศรษฐีจากเงินค่าธรรมเนียมที่บริษัทผู้ผลิตจ่ายให้ในฐานะผู้ประดิษฐ์คิดค้น เกมเศรษฐีได้รับความนิยมใน ๒๘ ประเทศ และผลิตต่อมาถึง ๑๙ ภาษา เกม นายทุนนี้ยังนิยมเล่นกันแม้ในประเทศคอมมิวนิสต์ เช่นอดีตสหภาพโซเวียตอีกด้วย ทุกวันนี้เกมเศรษฐีครองอันดับขายดีที่สุดยาวนานที่สุดในศตวรรษนี้


          “อัลเฟรด บัดส์ผู้คิดประดิษฐ์เกมต่อคำสแครบเบิล ก็เป็นคนว่างงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเช่นเดียวกับชาร์ลส์ แดร์โรว์ บัดส์ดัดแปลงเกมของเขาจากความคลั่งไคล้ในปริศนาอักษรไขว้ และให้ชื่อว่า คริสครอส” (Criss Cross) เมื่อแรกกำเนิดในปี .. ๑๙๓๑ เกมคริสครอสประกอบด้วยเบี้ยสี่เหลี่ยมทำด้วยไม้ ๑๐๐ ชิ้น ทุกชิ้นเขียนพยัญชนะไว้หนึ่งตัว บัดส์ต้องใช้เวลาเกือบ ๑๐ ปี กว่าจะพัฒนากติกาการเล่นที่สมบูรณ์แบบ และกำหนดค่าคะแนนของพยัญชนะแต่ละตัวซึ่งคำนวณจากโอกาสมากน้อยในการใช้ อย่างไรก็ตามบัดส์ไม่รีบร้อน เพราะคริสครอสเป็นเกมกระดานที่เล่นกันสนุกๆ เฉพาะสมาชิกในครอบครัวและมิตรสหายเท่านั้น
          เพื่อนของเขาคนหนึ่งชื่อ เจมส์ บรูโนต์ชาวเมืองนิวตัน รัฐคอนเนกติกัต มั่นใจว่าเกมของบัดส์ขายได้อย่างแน่นอน จึงชักชวนให้บัดส์จดลิขสิทธิเกมของเขาในชื่อ สแครบเบิล” (Scrabble) ในปี .. ๑๙๔๘ ในการทดลองเล่น บริษัทผู้ผลิตเกมเซลโคว์และไรท์เตอร์พอใจกับเกมต่อคำนี้มาก อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯ ประเมินว่าสแครบเบิลน่าจะเป็นที่นิยมในช่วงเวลาไม่เกิน ปี แต่ผิดถนัดสแครบเบิลได้กลายเป็นเกมกระดานที่ขายดีตลอดกาลในสหรัฐอเมริกา ครองอันดับสองรองจากเกมเศรษฐี สแครบเบิลได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ กว่า ภาษา ทั้งยังผลิตออกมาในรูปอักษรเบรลสำหรับคนตาบอดด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น