หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

Yogurt

       หากเราเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตจะเห็นตู้แช่เย็นที่มีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของโยเกิร์ตมากมายหลายยี่ห้อและหลากหลายรูปแบบ คนไทยเรานิยมกินโยเกิร์ตเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกระแสสุขภาพ แต่มีใครบ้างที่รู้เรื่องว่าโยเกิร์ตคืออะไรและแต่ละประเภทให้ประโยชน์อย่างไร
โยเกิร์ต
โยเกิร์ต

โยเกิร์ตคืออะไร?

                โยเกิร์ต (Yogurt) คือผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากนม โดยเติมจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งก็คือเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ ลงไปหมักในนม กระบวนการหมักนี้เป็นกระบวนการทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคและเติมจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกายลงไปแทน นมที่ได้จะมีค่าความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนน้ำตาลในนม (แล็กเทส) เป็นกรดแล็กติก ซึ่งจะทำให้นมเปลี่ยนสภาพเป็นครีมข้นและรสฝาดขึ้น รสชาติและรสสัมผัสของโยเกิร์ตแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับแบคทีเรียที่เติมลงไปและประเภทของนมที่นำมาทำโยเกิร์ต

เหตุใดโยเกิร์ตจึงดีต่อสุขภาพ?

   
โยเกิร์ต
โยเกิร์ต
             โยเกิร์ตประกอบด้วยสารอาหารหลายชนิดที่ร่างกายต้องการและเป็นประโยชน์ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินอี โปรตีน แคลเซียมในโยเกิร์ตช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง โพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ง่ายขึ้นและทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายดีขึ้น วิตามินเอช่วยเรื่องการมองเห็นและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โปรตีนในโยเกิร์ตจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

 จุลินทรีย์ในโยเกิร์ต

                ในโยเกิร์ตมีจุลินทรีย์หลัก 2 ชนิด คือ Streptococcus thermophiles และ Lactobacillus bulgaricus อีกทั้งในปัจจุบันยังเติมแบคทีเรีย Bifido และ Lactobacillus casei ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นเมื่อบริโภคเป็นประจำ

 ไขมันในโยเกิร์ต

                โยเกิร์ตทำมาจากนม ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะทำมาจากนมประเภทใด อาจเป็นนมธรรมชาติที่มีไขมันปกติ นมไขมันต่ำหรือนมปราศจากไขมันนมโดยธรรมชาติมีปริมาณไขมันอยู่ที่ 3.5 % ส่วนนมไขมันต่ำจะมีไขมันอยู่ 2 % และนมปราศจากไขมันมีไขมันที่ต่ำกว่า 0.5 % สำหรับคนที่มีปัญหาของไขมันควรเลือกโยเกิร์ตชนิดไขมันต่ำ

 แล็กโทสในโยเกิร์ต

                หลายคนที่ร่างกายไม่สามารถดื่มนม ซึ่งมีน้ำตาลแล็กโทสได้ เนื่องจากขาดน้ำตาลแล็กเตส ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ลมขึ้น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสีย แต่จุลินทรีย์ในโยเกิร์ตจะย่อยน้ำตาลแล็กโทสไปบางส่วนทำให้สามารถดื่มได้ และมีอาการแพ้น้อยลงหรือไม่มีอาการเลย

 รสชาติของโยเกิร์ต

               
โยเกิร์ต
โยเกิร์ต
โดยปกติแล้วโยเกิร์ตรสธรรมชาติมีรสออกเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย เพราะแม้จะไม่ได้เติมน้ำตาลเลย แต่ในโยเกิร์ตมีน้ำตาลเลย แต่ในโยเกิร์ตมีน้ำตาลแล็กโทสตามธรรมชาติอยู่แล้ว ในทางอุตสาหกรรมยังเอาใจผู้บริโภค โดยการเติมแต่งกลิ่นและรสชาติให้ถูกใจผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น
                รสชาติที่ได้รับความนิยม เช่น รสสตรอเบอร์รี บลูเบอร์รี พีช วานิลลา บางครั้งอาจเติมน้ำตาลและเนื้อผลไม้ลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ การเติมน้ำตาลจะเพิ่มพลังงานของโยเกิร์ตมากขึ้น คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักจึงควรอ่านฉลากโภชนาการให้เข้าใจส่วนประกอบ ปริมาณพลังงาน ไขมันและน้ำตาลที่มีอยู่ในโยเกิร์ตก่อนเลือกซื้อ

 ชนิดและประเภทของโยเกิร์ต

                – โยเกิร์ตชนิดปกติ เนื้อครีมกึ่งแข็งมีหลายรสชาติ ทำจากนมทั้งชนิดไขมันปกติ ไขมันต่ำ และปราศจากไขมัน
                – กรีกโยเกิร์ต ลักษณะแข็งมากกว่าโยเกิร์ตปกติ เพราะเอาความชื้นออกมีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตปกติถึง 2 เท่า
                – โปรไบโอติกโยเกิร์ต เป็นโยเกิร์ตที่เติมจุลินทรีย์เพิ่มเข้าไป ทำให้มีส่วนช่วยในการขับถ่ายและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
                – โยเกิร์ตชนิดดื่ม โยเกิร์ตที่เติมน้ำหรือของเหลวอื่นเข้าไป ซึ่งมันมีน้ำตาลมากกว่าโยเกิร์ตทั่วไป
                – โยเกิร์ตที่ไม่ได้ทำมาจากนม มักทำจากนมถั่วเหลือง น้ำนมข้าว หรือกะทิ สำหรับคนที่เป็นมังสวิรัติ รสชาติแตกต่างจากโยเกิร์ตทั่วไป รวมถึงกลิ่นเฉพาะที่มาจากแหล่งวัตถุดิบที่แตกต่างกัน โยเกิร์ตในกลุ่มนี้จะเติมสารอาหารเข้าไปด้วย เช่น แคลเซียม วิตามินดี เพราะในพืชมีวิตามินเหล่านี้น้อย
                – คีเฟอร์ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 2 ชนิด ได้แก่ ยีสต์ Saccharomyces exiguous หรือ S. kefir และแบคทีเรียแล็กติก (Lactic acid bacteria) ที่อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) กระบวนการหมักคีเฟอร์จะก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อย ดังนั้นคีเฟอร์จึงมีรสชาติคล้ายโยเกิร์ต แต่มีกลิ่นแรงกว่า

 

โยเกิร์ต
โยเกิร์ต

ประโยชน์ของโยเกิร์ตต่อสุขภาพ

                • เป็นแหล่งของโปรตีนที่มีไขมันต่ำเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์
                • เป็นแหล่งที่ดีของแคลเซียม
                • เชื้อแบคทีเรียแล็กโตบาซิลลัสเป็นประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้
                • ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
                • ช่วยลดอาการท้องเสียในเด็กเนื่องจากจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะทำลายจุลินทรีย์ที่ไม่ดีที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย
                • ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ซึ่งแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้ช่วยทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น
                • ช่วยลดกลิ่นปาก
ตารางแสดงคุณค่าทางอาหารในโยเกิร์ตปกติและกรีกโยเกิร์ต
(ดัดแปลงมาจาก USDA Nutritive Value of Foods)
โยเกิร์ต
พลังงาน
(แคลอรี)
ไขมัน
(กรัม)
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม)
โปรตีน
(กรัม)
แคลเซียม
(มิลลิกรัม)
               ปกติ
นมไขมันปกติ
120
6
11
6
300
นมไขมันต่ำ
100
2
11
8
300
นมปราศจากไขมัน
80
11
9
300
         กรีกโยเกิร์ต
นมไขมันปกติ
270
12
6
16
200
นมไขมันต่ำ
150
4
8
20
200
นมปราศจากไขมัน
100
7
8
200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น