หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ทำไมโรงเรียนในญี่ปุ่น ถึงต้องให้เด็กเดินไปโรงเรียนเอง ห้ามพ่อแม่ไปส่ง !?

ทำๆไมเด็กถึงเดินไปโรงเรียน?แทนที่จะให้พ่อแม่ไปส่ง

หลายคนอาจจะเคยเห็นเด็กนักเรียนญี่ปุ่นเดินไปโรงเรียนกันเป็นกลุ่ม มีเด็กโตคอยจูงมือเด็กเล็ก เรียงแถวกันไปอย่างน่ารัก ซึ่งเป็นภาพที่เราเห็นได้ทั่วไป และในการ์ตูนญี่ปุ่นหลายๆเรื่องเองก็เป็นแบบนี้


japan-student

 

สาเหตุที่หลายโรงเรียน กำหนดให้เด็กต้องเดินไปเรียนเอง และห้ามให้ผู้ปกครองขับรถไปส่ง (ปกติคนญี่ปุ่นจะส่งลูกเรียนโรงเรียนใกล้บ้านอยู่แล้ว ถ้าใครส่งลูกเรียนไกลก็ต้องรับผิดชอบเอง) ไม่ว่ามีฐานะดีหรือจน ก็ต้องเดินไปโรงเรียนประมาณ 2-3 กิโลเมตรใกล้บ้าน

การให้เด็กได้เดินไปโรงเรียนเองนี้ ก็เลยเกิดข้อดีขึ้นมากับชีวิตนักเรียนญี่ปุ่นหลายอย่าง เช่น

 

japan-student2

- แก้ปัญหาการจราจรยามเช้า บริเวณโรงเรียน ที่ผู้ปกครองจะมาส่งลูกๆ

ลดภาระของผู้ปกครอง ตอนเช้าไม่ต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน

- ส่งเสริมความสัมพันธ์ให้เด็กๆในละแวกบ้านเดียวกันได้รู้จักกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ทิ้งกัน ด้วยการให้เด็กโตดูและเด็กเล็กเอง และไปโรงเรียนด้วยกัน

 

japan-student3

 

- สอนความตรงต่อเวลา ถ้าเด็กคนไหนช้า เพื่อนๆก็จะต้องรอหน้าบ้านจนกว่าจะลงมาแล้วเดินไปพร้อมกัน เพราะใครก็คงไม่อยากให้เพื่อนรอ

- เสริมสร้างความรับผิดชอบ ของเด็กโตกว่า ที่จะต้องดูและเด็กเล็กทั้งขาไปและขากลับ

- บางครั้งจะเห็นครูหรือตัวแทนผู้ปกครอง ผลัดกันมายืนดูแลตามสี่แยกหลักๆ ทางข้ามถนน หรือทางม้าลาย

 

japan-student4

 

จะเห็นได้ว่า เพียงแค่การเปลี่ยนให้เด็กนักเรียนเดินไปโรงเรียน ก็จะได้อะไรดีๆหลายอย่าง ทั้งการพัฒนาการของเด็ก เสริมสร้างความรับผิดชอบ มีน้ำใจ อดทน รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 ขณะเดียวกันช่วยเสริมสร้างความสามัคคีทั้งเด็กนักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และครูอาจารย์ ทำให้สังคมญี่ปุ่นมีความรักกัน รู้จักทำงานเป็นทีม และเกิดความสามัคคี ช่วยกันพัฒนาประเทศในที่สุด….

japan-student5

การศึกษาในสังคมญี่ปุ่น

คะแนนการศึกษานานาชาติ (พ.ศ. 2546)
(คะแนนเฉลี่ยเด็กอายุ 13 ปี, TIMSS
การศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติ ครั้งที่ 3, พ.ศ. 2546)
ประเทศ:
(ตัวอย่าง)
อันดับโลกคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
คะแนนอันดับคะแนนอันดับ
สิงคโปร์160515781
ไต้หวัน258545712
เกาหลีใต้358925583
ฮ่องกง458635564
ญี่ปุ่น557055525
เนเธอร์แลนด์753675369
อังกฤษ10498185447
สหรัฐอเมริกา125041552711
มาเลเซีย185081051021
อิตาลี234842249122
ที่มา:TIMSS Math 2003 และ TIMSS Science 2003

วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอนให้เคารพต่อสังคมและมีการสร้างแรงจูงใจให้อยู่รวมเป็นกลุ่มโดยให้รางวัลเป็นกลุ่มมากกว่าจะให้รางวัลเป็นบุคคล การศึกษาของญี่ปุ่นเน้นหนักในเรื่องความขยัน การตำหนิตนเอง และอุปนิสัยการเรียนรู้ที่ดี ชาวญี่ปุ่นถูกปลูกฝังว่าการทำงานหนักและความขยันหมั่นเพียรจะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต โรงเรียนจึงอุทิศให้กับการสอนทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อที่จะพัฒนาอุปนิสัยและมีเป้าหมายในการสร้างประชากรที่สามารถอ่านออกเขียนได้ และปรับตัวให้เข้ากับค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมได้

ความสำเร็จทางการศึกษาของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ในการสอบวัดความรู้ด้านคณิตศาสตร์นานาชาติ เด็กญี่ปุ่นถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆมาโดยตลอด ระบบนี้เป็นผลมาจากการสมัครเข้าเรียนสูง ตลอดจนอัตราการรับ ระบบการสอบเข้า (การสอบเอนทรานซ์) โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลต่อการศึกษาทั้งระบบเป็นอย่างมาก รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนทางการศึกษาแต่เพียงผู้เดียว โรงเรียนเอกชนก็มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา รวมถึงโรงเรียนที่อยู่นอกระบบเช่นวิทยาลัยของเอกชน ก็มีบทบาทสำคัญในการศึกษาและเป็นส่วนมากในการศึกษา

เด็กๆส่วนใหญ่จะเข้าโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล แม้ว่าจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาก็ตาม ระบบการศึกษาเป็นภาคบังคับ เลือกโรงเรียนได้อิสระและให้การศึกษาที่พอเหมาะแก่เด็กๆทุกคนตั้งแต่เกรด 1 (เทียบเท่า ป.1) จนถึง เกรด 9 (เทียบเท่า ม.3) ส่วนเกรด 10 ถึงเกรด 12 (ม.4 - 6) นั้นไม่บังคับ แต่ 94% ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย ประมาณ 1 ใน 3 ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลายเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลย 4 ปี junior colleges 2 ปี หรือเรียนต่อที่สถาบันอื่นๆ

ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก และเป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย การศึกษาเป็นสิ่งที่น่าเคารพยกย่อง และความสำเร็จเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการประสบความสำเร็จในงานและในสังคม ทุกวันนี้ มุมมองแตกต่างออกไป โรงเรียนต่างแข่งขันกันเพื่อรับนักเรียน การสอบเอนทรานซ์กลายเป็นสิ่งที่ stolid in an attempt to maintain operations ทุกวันนี้ โรงเรียนรับนักเรียนในอัตราต่ำกว่าที่รับได้มาก ถือเป็นปัญหาด้านงบประมาณขั้นรุนแรง โรงเรียนถูกสร้างเพื่อรับนักเรียน 1,000 คน แต่กลับรับนักเรียนเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนที่รับได้ แต่นี้ไม่ได้ทำให้จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องน้อยลง ห้องเรียนส่วนใหญ่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 35 - 45 คน

15ห้องสมุดที่น่าสนใจและน่าเข้าไปนั่งอ่าน


ห้องสมุดทั้ง 15 แห่งนี้มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่จินตนาการ

เราไปดูกันดีกว่าว่า 15 ห้องสมุดที่ว่านี้ คือที่ไหนบ้าง

1. Salt Lake City Public Library

อยู่ที่อเมริกานะครับ ห้องสมุดแห่งนี้จะมีการเปิดเพลงคลอให้ผู้ใช้บริการเพลิดเพลินไปกับการอ่านหนังสือ พร้อมด้วยการฟังเพลงแบบชิวๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นี่ไม่มีการบล็อคเว็บอะไรทั้งสิ้น ที่นี่ “no censorship”

credit ภาพโดย Pedro Szekely 

2. Strahov Theological Hall

ยู่ที่สาธารณรัฐเชก เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเกี่ยวกับศาสนา 18,000 เล่ม และมีหนังสือไบเบิลหลายภาษามากๆ

credit ภาพโดย Rafael Ferreira

3. Biblioteca España

อยู่ที่โคลัมเบีย ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง (เมือง Santo Domingo เป็นย่านที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นบ่อย รวมถึงเรื่องของปัญหายาเสพติดที่ค่อนข้างสูง)

credit ภาพโดย danjeffayelles

4. Beinecke Rare Book and Manuscript Library

ยู่ที่อเมริกา เป็นห้องสมุดที่ไม่มีหน้าต่างเลย และกำแพงทำจากหินอ่อนโปล่งแสง ที่นี่ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า

credit ภาพโดย KAALpurush 

5. Belarus National Library

อยู่ที่เปราลุส เป็นหอสมุดแห่งชาติที่ถูกออกแบบใหม่แทนหอสมุดแห่งชาติเดิม สามารถเก็บหนังสือได้ 8 ล้านเล่ม

credit ภาพโดย Giancarlo Rosso

6. Thomas Fisher Rare Book Library

อยู่ที่แคนาดา เป็นห้องสมุดที่จัดเก็บหนังสือหายากที่มากที่สุดในประเทศแคนาดา รวมถึง clolletion ของ Lewis Carroll ทั้งงานเขียน รูปภาพ

credit ภาพโดย Andrew Louis

7. Seattle Public Library

อยู่ที่อเมริกา อันนี้คงไม่ต้องบรรยายอะไรมากเพราะมันเป็นห้องสมุดประชาชนที่ออกแบบได้อลังการงานสร้างมากๆ จุดเด่นที่น่าสนใจของที่นี่ คือ Book spiral รูปแบบการจัดหนังสือที่รองรับในอนาคต

credit ภาพโดย Stephen J. Friedman, MD

8. Black Diamond

อยู่ที่เดนมาร์ค ชื่อจริงๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ คือ Danish Royal Library มีพื้นที่เป็นลานคอนเสิร์ด ลานจัดนิทรรศการ และส่วนของห้องสมุดด้วย

credit ภาพโดย G. Jörgenshaus

9. TU Delft Library

อยู่ที่เนเธอร์แลนด์ ออกแบบได้สวยงามและจุดเด่นของที่นี่คือบันไดวน

credit ภาพโดย Stephanie Braconnier 

10. Halmstad Library

อยู่ที่สวีเดน การออกแบบห้องสมุดของที่นี่มีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้ที่อยู่รอบๆ ห้องสมุด (เขาไม่ตัดต้นไม้เพื่อสร้างสร้างห้องสมุด) รอบๆ อาคารเป็นกระจกสามารถมองออกมาชมวิวข้างนอกได้ด้วย

credit ภาพโดย ET Photo

11. Jose Vasconcelos Library

ยู่ที่แม็คซิโก ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการสร้าง 2 ปี โดยเมื่อเปิดห้องสมุดแล้วจัดเก็บหนังสือได้มากขึ้น แถมด้วยห้องประชุมที่รองรับคนจำนวน 500 คน

credit ภาพโดย Omar

12. Vancouver Library Square

ยู่ที่แคนาดา ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดกลางของ vancover มีพื้นที่เพื่อการทำกิจกรรมสังคมมากมาย ตกแต่งด้วยกระจกเป็นหลัก

credit ภาพโดย Darren Stone

13. Real Gabinete Portugues de Leitura

อยู่ที่บราซิล ห้องสมุดที่แค่ห้องเดียวก็สามารถเก็บหนังสือได้ 350,000 เล่ม การตกแต่งภายในจะเป็นเรื่องราวต่างๆ 4 เรื่อง และพื้นที่ต่างๆ เต็มไปด้วยชั้นหนังสือ

credit ภาพโดย Os Rúpias

14. Admont Library

อยู่ที่ออสเตรีย ห้องสมุดที่มีสถาปัตยกรรมตกแต่งสวยงาม งานปูนปั้นศิลปะเพียบ และเป็นห้องสมุดที่รวบรวมหนังสือหายากและต้นฉบับลายมือที่เยอะที่สุดในโลกด้วย

credit ภาพโดย Christine McIntosh

15. British Library

อยู่ที่อังกฤษ เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง (รองจาก library of congress) มีหนังสือมากถึง 150 ล้านเล่มจากทั่วโลก และอีก 100 ล้านเล่มที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล