หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

นักเขียนซีไรต์ประเทศไทย 2014

DAN-ARUN SAENGTHONG
2014 Thailand S.E.A. Write Awardee
DAN-ARUN SAENGTHONG
Saneh Sangsuk – pen name Dan-Arun Saengthong – was born in Phetchaburi province and graduated from Srinakarintarawirote Prasarnmit University where he studied English Literature. Along with his friends, Vimon Sainimnual, Sukon Kaesad and others, they enjoyed reading, writing and translation; ran a printing house; and published Readers’ Friend magazine.
Saneh’s first pen name was Maya, but Vinai Ukrit also used the same name, so he changed it to Dan-Arun Saengthong. Saneh however published his first English-Thai translation under another pen name, Shane Charaswieng.
His first short story, White Shadow, was selected by Marcel Barang for “The 20 Best Novels of Thailand” list and The Centre National du Livre selected it for translation into Spanish and English.
Other short stories translated into other languages include:
• The Venom – translated into English, French, Catalan, Greek, Portugal, Spanish, Italian and German;
• Chao Karaked – translated into French and Italian and well received by international readers and;
• Duaegdai Tai Faklung – translated into French
Saneh also published Duangta Tee Sam, a long short story, and Matanusti, a novel, amongst others.
In 2008, Saneh received “The Order of Arts and Letters Medal” from the French Ministry of Culture for his remarkable contributions to literature. This year his book, Venom and Other Stories, was selected as the Thailand winner of the Southeast Asian Writers Award (S.E.A. Write).

นักเขียนซีไรต์ประเทศไทย
แดนอรัญ แสงทอง
แดนอรัญ แสงทอง เป็นนามปากกาของเสน่ห์ สังข์สุข เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี จบปริญญาตรีเอกวรรณคดีอังกฤษจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร สะสมความรู้ด้านภาษาและวรรณกรรมเริ่มแรกร่วมกับเพื่อนร่วมสถาบันอย่างวิมล ไทรนิ่มนวล สุคนธ์ แคแสด ฯลฯ วนเวียนเขียน อ่าน แปล ทำสำนักพิมพ์ และเคยร่วมกันทำนิตยสาร “เพื่อนนักอ่าน” โดยมีวิมล ไทรนิ่มนวล เป็นผู้ออกทุน
เริ่มงานเขียนยุคแรกในนามปากกามายา แต่ไปตรงกับนามปากกาของวินัย อุกฤษณ์ จึงเปลี่ยนนามปากกาเป็น แดนอรัญ แสงทอง ขณะงานแปลในยุคแรกในนามปากกาเพิ่มอีกนามคือ เชน จรัสเวียง
เงาสีขาว นวนิยายเรื่องแรกของเขาได้รับการคัดเลือกโดยมาร์แซล บารังส์ ให้เป็นหนึ่งในยี่สิบนวนิยายที่ดีที่สุดของไทยในหนังสือ The 20 Best Novels of Thailand เป็นวรรณกรรมไทยที่ศูนย์หนังสือแห่งชาติของฝรั่งเศส (Centre national du Livre) คัดเลือกและสนับสนุนให้ได้รับการแปลเป็นภาษาสเปนและภาษาอังกฤษในเวลาต่อมา
อสรพิษ เรื่องเล่าขนาดสั้นเรื่องหนึ่งของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส คาตาลัน กรีก โปรตุเกส สเปน อิตาลี และเยอรมัน ส่วน เจ้าการะเกด นวนิยายอีกเรื่องของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส และอิตาลี และได้รับความชื่นชมอย่างสูงจากแวดวงวรรณกรรมของสองประเทศนั้นนวนิยาย “เดียวดายใต้ฟ้าคลั่ง” ได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส สำหรับงานเขียนอื่น ๆ ของเขาได้แก่ ดวงตาที่สาม (เรื่องสั้นขนาดยาว) และ มาตานุสติ (นวนิยาย) เป็นต้น
ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ในลำดับชั้น Chevaliér du Arts et Lettre จากกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสารของสาธารณรัฐฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2551
รวมเรื่องสั้น อสรพิษและเรื่องอื่น ๆ ได้รับการประกาศให้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียนซีไรต์ ของประเทศไทย ประจำปี 2557

S.E.A. Write

 www.seawrite.com
ซีไรต์ทับศัพท์มาจากคำว่า  S.E.A. Write  ซึ่งย่อมาจาก  South East Asian Writers Awards  หมายถึง  รางวัลวรรณกรรมที่มอบให้แก่นักเขียน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่  บรูไน  กัมพูชา  อินโดนีเซีย  ลาว  มาเลเซีย  พม่า ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย และเวียดนาม ชื่อเต็มในภาษาไทย คือ “รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน”  แต่มักจะเรียกย่อๆว่า รางวัลซีไรต์ อันเป็นชื่อซึ่งรู้จักกันทั่วไปในวงการประพันธ์ของประเทศไทย
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522  ฝ่ายบริหารของโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ ได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ มีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรมที่ชื่อว่า  “ตึกนักเขียน”  (AUTHORS’ RESIDENCE)  อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่  ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม  โนเอล โฆเวิด  โจเซฟ คอนราด  และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน   จอห์น เลอ คาร์เร่ และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย
ฝ่ายบริหารของโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ จึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น  โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย  ต่อมา มูลนิธิจิม ทอมป์สัน ได้เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2524  (แต่ถอนตัวออกในปี 2530),   ธนาคารกรุงเทพ เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2527  …หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย  และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาได้มีประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วมเมื่อปี 2529 ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเมื่อปี 2539 ประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อปี 2542
 วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ
1. เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศ   อาเซียน
2. เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
3. เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
4. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน
               


Stonehenge

สโตนเฮนจ์(Stonehenge) หนึ่งในปริศนาอันยิ่งใหญ่ที่สุดทางโบราณคดีของโลก นานหลายพันปีมาแล้ว แนวความคิดที่ล้ำหน้าแบบใหม่ สามารถจะอธิบายได้ว่าอนุสรณ์สถานอันยิ่งใหญ่และลึกลับแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใครและด้วยเหตุผลใดการศึกษาในสังคมปัจจุบันผสมผสามกับหลักฐานทางโบราณคดีจากทั่วยุโรปเหนือ ได้นำไปสู่ทฤษฎีที่น่าประหลาดใจว่าสโตนเฮนจ์ ถูกสร้างขึ้นมิใช่เพียงเพื่อเฉลิมฉลองดวงอาทิตย์หากเพื่อบูชาพลังที่เก่าแก่
อนุสรณ์โบราณนี้เปรียบเสมือนป้ายหลักกิโลเมตรที่สำคัญบนถนนที่นำไปสู่โลกใหม่ การไขปริศนาเริ่มต้นด้วยคำถามพื้นฐาน โดยถามว่า คนที่สร้าง สโตนเฮนจ์ เชื่อในสิ่งใด? โครงสร้างที่ใหญ่ระดับนี้และเก่าแก่เช่นนี้ ย่อมต้องมีความสำคัญทางจิตวิญญาณอย่างมากสำหรับผู้สร้าง การก่อสร้างเริ่มบนที่ตั้ง สโตนเฮนจ์ เมื่อกว่า 5 พันปีก่อน โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลัก แต่ละช่วงทำให้เกิดการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมเสมอ หินยักษ์บางก้อนถูกส่งมาจากยอดเขาเพรสเซลลี่ (Presscelly) ในแคว้นเวลส์ ซึ่งอยู่ห่างไปหลายร้อยไมล์ มายังสถานที่ตั้งของอนุสรณ์สถานแห่งนี้ บนที่ราบซาลส์บิวรี่ (Salisbury) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ
โบราณคดีแบบเดิม สรุปโดยทั่วไปว่าวัตถุประสงค์สำคัญของ สโตนเฮนจ์ก็คือ ดวงอาทิตย์ หน้าที่ของมันคือเป็นวิหารแห่งดวงอาทิตย์ และอีกส่วนหนึ่งเป็นปฏิทินแสงแดด คนนับพันยังคงมารวมตัวกันกลางฤดูร้อนเพื่อชมพระอาทิตย์ขึ้น และยังคงสืบทอดประเพณีที่หลายคนเชื่อว่ามีมาตั้งแต่เริ่มแรกของ สโตนเฮนจ์ แต่ในเดือนกันยายน ปี2002 บนเนินเขาทางตอนกลางของประเทศเยอรมันนี การค้นพบที่น่าทึ่งได้เกิดขึ้น แผ่นทองเหลืองแบบกลมอันสวยงาม ที่แสดงให้เห็นถึงดวงอาทิตย์แบ่งฟ้าร่วมกับดวงจันทร์ดวงใหญ่ และมีอายุเทียบเท่ากับช่วงสุดท้ายของการก่อสร้าง สโตนเฮนจ์ ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าก่อนจะหันมาบูชาดวงอาทิตย์ มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เคยบูชาดวงจันทร์มาก่อน เพื่อทำความเข้าใจแรงผลักดันทางสังคมในยุค สโตนเฮนจ์ การนำช่วงเวลาก่อสร้างมาพิจารณาอาจช่วยได้ มันถูกสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังของยุค นีโอลิทิก (Neolithic) ขณะที่ยุคนี้กำลังจะเปลี่ยนผ่านไปเป็นยุคทองเหลือง นีโอลิทิก หรือยุคหินใหม่ ถูกมองว่าเป็นช่วงต่อจากยุคพาลีโอลิทิก (Palaeolithic) หรือยุคหินเก่า ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 2.5 ล้านปีก่อน เป็นช่วงแรกในประวัติศาสตร์พัฒนาการของมนุษย์ และสโตนเฮนจ์ ซึ่งใช้ทักษะในเชิงวิศวกรรมและการตกแต่งที่พิเศษ กลับโดดเด่นเหนือกว่าอนุสาวรีย์อื่น ๆ เพราะนี่ไม่ใช่แค่กองหินธรรมดาที่พาดทับซ้อนกันเท่านั้น แต่นี่คือสิ่งปลูกสร้างที่สมบูรณ์แบบที่สุด
มนุษย์ยุคหินที่ปราศจากเครื่องยนต์หรือเครื่องมือเหล็ก สามารถจัดการกับงานอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ได้อย่างไร? คำตอบง่าย ๆ คือ เวลาและความอดทนอันไร้ขีดจำกัด และเครื่องมืออันเรียบง่าย เช่น ชะแลง และ สิ่ว ที่ทำจากเขากวางมันคงใช้เวลานาน สำหรับการใช้ค้อนหิน ตอกหินให้เป็นรูปทรง และทำให้พื้นผิวที่ขรุขระแบนเรียบ แต่การทำงานในระดับนี้ ต้องการมากกว่าวิสัยทัศน์ มันต้องการคณะทำงานที่ทุ่มเทนั่นก็คือมีแรงงานในยุคเกษตรกรรมมีสังคมที่ซับซ้อนและมีวิสัยทัศน์มากพอที่จะนำแรงงานมาสร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ได้
ดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์มักเกี่ยวโยงกับสองเพศ ไม่น่าแปลกใจที่ เพศหยิง จะถูกนำไปโยงกับดวงจันทร์สโตนเฮนจ์อาจจะสร้างเพื่อเทิดทูนดวงจันทร์ ด้านสตรีเพศของสังคม ขณะเดียวกันก็มิได้หันหลังให้กับดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นด้านบุรุษของสังคมเช่นกัน นักโบราณคดีเชื่อว่า สโตนเฮนจ์ถูกสร้างมาเพื่อต้องการให้ประชาชนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในแง่มุมใหม่ งานวิจัยของพวกเขาได้แสดงว่านักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนได้สังเกตการณ์มายาวนาน พวกเขารู้ถึงตำแหน่งของดวงจันทร์จะเปลี่ยนไประหว่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ และเหลือเชื่อที่ว่าพวกเขาสามารถออกแบบสโตนเฮนจ์ให้สามารถดักจับแสงของดวงจันทร์ที่กำลังจะลับขอบฟ้าผ่านหน้าต่างสโตนเฮนจ์ได้ทุก ๆ เดือนใน 1 ปี
คุณอาจมองที่สโตนเฮนจ์ แบบที่คนรุ่นก่อนได้มองมาแล้ว และตีความมันไปได้หลายทาง ทุกรุ่นตีความต่างกันและเข้าใจต่างกัน สิ่งที่เราเรียนรู้เกี่ยงกับคนในยุคนั้นแสดงให้เห็นว่า พวกเขาเข้าใจการเคลื่อนไหวของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และสามารถการเชื่อมโยงระหว่างการเคารพดวงจันทร์ในอดีตและการเคารพดวงอาทิตย์ในอนาคต เช่นเดียวกับมนุษย์ที่เปลี่ยนตัวเองจากนักล่าให้เป็นชาวไร่ อนุสาวรีย์แห่งนี้อาจจะเป็นก้าวสำคัญที่จะนำเราไปสู่ชีวิตใหม่
นักโบราณคดีในปัจจุบันพยายามทำความเข้าใจสังคมก่อนประวัติศาสตร์ที่สร้างงานอันยิ่งใหญ่ชึ้นหนึ่งของโลกพวกเขาเชื่อว่ามีแต่นักบวชเท่านั้นที่มีความสามารถในการชักจุงคนจำนวนมากมาทำงานหนักในการก่อสร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลกชิ้นนี้

Noah Ark



ในพระคัมภีร์ของสามศาสนาที่ยิ่งใหญ่ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลางอันได้แก่ศาสนา จูเดอิซึ่ม คริสต์ อิสลามได้ปรากฏเรื่องราวของเหตุการณ์อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ชื่อของ “โนอาห์ (Noah)” ยังคงถูกจารึกและเป็นที่เล่าขานมาจนถึงทุกวันนี้เรื่องราวนี้ยังคงเป็นปริศนาสำหรับชนรุ่นหลังว่า เคยมีเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงเช่นนั้นจริงหรือไม่? เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้น ณ ที่ใด ?
ดร. โรเบิร์ต บัลลาร์ด (Dr. Robert Ballard)ผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจใต้ท้องทะเลซึ่งเป็นผู้ที่ได้จารึกประวัติศาสตร์การค้นพบอันยิ่งใหญ่ โดยการค้นพบซากเรือไททานิค (Titanic) ที่จมสงบนิ่งอยู่ ณ พื้นมหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean)ได้เดินทางมายัง “ทะเลดำ (Black Sea)” ตามคำเชิญชวนอันแสนเย้ายวนใจของผืนน้ำที่ได้ซุกซ่อนความลับเอาไว้อย่างมากมายการเดินทางของ ดร. บัลลาร์ด เริ่มต้นจากความปรารถนาที่จะค้นพบซากเรือไม้โบราณที่ถูกเก็บรักษาเอาไว้อยู่อย่างสมบูรณ์ภายใต้น้ำทะเลที่เป็นพิษด้วย “ไฮโดรเจน ซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide)”ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดอาศัยอยู่ได้ ไม่เว้นแม้แต่ปลวกแห่งทะเลจอมทำลายเนื้อไม้ซึ่งจะกัดกินทุกอย่างที่เป็นสิ่งชีวภาพแรงปรารถนาของ ดร. บัลลาร์ด ได้ถูกจุดประกายโดยหนังสือของนักสมุทรศาสตร์ที่มีนามว่า “วิลลาร์ด บาสคอม (Willard Bascom)” ซึ่งได้บรรยายองค์ประกอบอันสุดแสนพิเศษของทะเลดำไว้ในหนังสือเล่มนั้น
แต่ก่อนหน้าการเดินทางเพียงไม่นาน ความสนใจของ ดร. บัลลาร์ด ก็ถูกหันเหไปโดยหนังสือของสองนักธรณีวิทยาผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ที่มีนามว่า “วิลเลี่ยม ไรอัน” และ “วอลเตอร์ พิทแมน” ซึ่งได้นำเสนอทฤษฎีใหม่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับกำเนิดของทะเลดำแห่งนี้
ทฤษฎีดังกล่าวได้เสนอถึงจุดกำเนิดของทะเลดำว่าทะเลแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นโดยอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ซึ่งผู้ที่รอดชีวิตก็ได้บอกเล่าเรื่องราวในครั้งนั้นสืบทอดกันมาหลายต่อหลายรุ่น จนกระทั่งได้ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร – ซึ่งก็คือเรื่องราวของ โนอาห์ และเรือของเขา
ไรอัน และ พิทแมน ได้สันนิษฐานถึง การเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ในปลายยุคน้ำแข็งสุดท้าย เมื่อราวๆ 12,000 ปีก่อน พวกเขาได้ค้นพบตำนานที่มีความคล้ายคลึงกับเรื่องราวของโนอาห์อย่างน่าประหลาด ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันในตะวันออกกลาง ก่อนที่เรื่องของโนอาห์จะถูกบันทึกไว้เมื่อ 700 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าการบันทึกตำนานเรื่องโนอาห์ราว 1 พันปี ชาวสุเมเรียน (Sumerians) ได้บันทึกมหากาพย์เรื่อง “กิลกาเมช (Gilgamesh)” และมีการบรรยายถึงอุทกภัยครั้งร้ายแรง ในเรื่อง กิลกาเมชได้พบกับผู้รอดชีวิตจากอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่ได้รับคำเตือนจากพระผู้เป็นเจ้าว่า จะมีน้ำท่วมเกิดขึ้น, จงเร่งสร้างเรือ, ให้นำครอบครัว และฝูงสัตว์มาไว้ที่เรือ และอุทกภัยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ตามมาด้วยฝนและลมพายุ ที่ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้นผู้รอดชีวิต อันได้แก่ ครอบครัว และเรือของเขา รวมถึงเหล่าสรรพสัตว์ที่ได้โดยสารมาบนเรือด้วย
เราจะเห็นได้ถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างเรื่องราวของ กิลกาเมช และ โนอาห์ ซึ่งต่างก็กล่าวถึงชายที่ถูกสั่งให้สร้างเรือขนาดใหญ่ และนำสัตว์ขึ้นไปไว้บนเรือ, อุทกภัยที่ทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง รวมไปถึงน้ำท่วมที่ปกคลุมทุกสิ่งทุกอย่างไปทั่วโลก แม้แต่เรื่องของการปล่อยนกพิราบ สิ่งนี้เองที่เป็นแรงดึงดูดให้ ไรอัน และ พิทแมน ให้ความสนใจกับทะเลในแถบตะวันออกกลาง โดยครั้งนี้ได้พุ่งเป้ามาที่ ทะเลดำ
ไรอัน และ พิทแมน เคยได้รับเชิญให้เข้าร่วมกับทีมนักวิทยาศาสตร์รัสเซีย ในปีคริสตศักราช 1993 ในการเดินทางไปตรวจสอบทะเลดำ ซึ่งก็ทำให้พวกเขา ได้พบสิ่งที่ยืนยันว่า ทะเลดำซึ่งแต่เดิมเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีขนาดเพียง 2 ใน 3 ของปัจจุบัน ซึ่งในยุคน้ำแข็งสุดท้าย แผ่นดินนั้นอุ่นขึ้น จึงทำให้ทะเลสาบเหือดแห้งลงไป และได้ทิ้งคราบไว้ นั่นก็คือ การพบคราบดังกล่าวที่ความลึกลงไป 90 เมตร, 110 เมตร และลึกที่สุดอยู่ที่ 156 เมตร ใต้ท้องทะเลดำ
นอกจากนี้ เขายังพบหลักฐานการปรากฏตัวของสัตว์น้ำเค็ม ในที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นทะเลสาบน้ำจืดอีกด้วย ผลจากการพิสูจน์นั้นแสดงออกมาว่า หอยน้ำเค็มล้วนแต่ปรากฏตัวขึ้นทุกระดับความลึกของทะเลดำ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็คือเมื่อ 7,600 ปีก่อนจากทฤษฎีของ ไรอัน และ พิทแมน ก็ทำให้ภารกิจของ ดร. บัลลาร์ด ณ ทะเลดำแห่งนี้มีถึง 2 ภารกิจด้วยกันนั่นก็คือการค้นหาหลักฐานของการที่เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ และการค้นหาซากเรือโบราณ
เขาเริ่มต้นด้วยการสำรวจแนวชายฝั่งเก่าแก่ ด้วยการใช้โซน่าร์กวาดผ่านไปทั่วบริเวณ โดยมีเป้าหมายในการค้นหารูปแบบของสิ่งก่อสร้าง โครงสร้าง หรือรั้ว และอื่นๆ ที่จะดึงดูดให้เข้าไปค้นหาเพิ่มเติม
แล้วเขาก็ได้รับสัญญาณเสียงสะท้อนโซนิก ตรวจพบวัตถุที่ก้นทะเล เขาจึงตัดสินใจหย่อน “อาร์กัส (Argus)” ซึ่งเป็นกล้องเคลื่อนที่ลงไป และ ดร. บัลลาร์ด พร้อมทั้งทีมงานก็ได้เห็นชิ้นส่วนของไม้ที่อยู่ลึกลงไป 100 – 155 เมตร พร้อมทั้งซากของสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะที่พักอาศัยฝีมือมนุษย์
ดร. บัลลาร์ด ไม่ได้คาดหวังที่จะพิสูจน์เรื่องราวในพระคัมภีร์ หากแต่ว่าเขากำลังตามรอยประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทว่า ถ้าเขาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ผู้คนเคยอาศัยอยู่ที่นี่มาก่อนที่จะถูกน้ำท่วม สิ่งนี้ก็จะเป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่ของเขา
หลังจากการส่ง อาร์กัส ลงสู่พื้นทะเลแล้ว ดร. บัลลาร์ด ตัดสินใจส่งยานดำน้ำที่ไม่มีคนบังคับชื่อ “ลิตเติ้ล เฮิร์ค(Little Herc)” ลงไปเพื่อถ่ายภาพที่มีความคมชัดเป็นพิเศษและก็อาจจะเก็บตัวอย่างดินมาได้ด้วยสิ่งที่พวกเขาได้เห็นจากการถ่ายทอดของ ลิตเติ้ล เฮิร์ค ก็ได้เผยให้เห็นถึงรายละเอียดที่ไม่เคยมีใครได้เห็นมาก่อน
ภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างฝีมือมนุษย์ จากนั้นก็ได้เก็บเอาดินขึ้นมาเพื่อทำการตรวจสอบทางด้านโบราณคดี รวมทั้งซากชิ้นส่วนไม้ที่พบด้วย และความพยายามของพวกเขาก็ประสบผลสำเร็จ เพราะผลจากการตรวจสอบดินนั้น ยืนยันแนวคิดที่ว่า เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้ ถึงแม้ว่าชิ้นส่วนไม้นั้นจะเป็นของในยุคใหม่อายุราว 200 ปีก่อน

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

The Waltz King

     โยฮันน์ สเตราส์ ที่ 2 ได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งเพลงวอลซ์




       โยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ หรือ โยฮันน์ สเตราส์ ที่ 2 (Johann Strauss Junior) คีตกวีชาวออสเตรียที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาแห่งเพลงวอลซ์” (The Waltz King) สเตราส์ จูเนียร์เป็นลูกชายคนแรกของ โยฮันน์ สเตราส์ ที่ 1 (Johann Strauss I) คีตกวีผู้เป็น "บิดาแห่งเพลงวอลซ์” (Father of Waltz) ชาวออสเตรีย สเตราส์ จูเนียร์เกิดที่กรุงเวียนนาในขณะที่วงดนตรีของบิดากำลังมีชื่อเสียง ด้วยชีวิตนักดนตรีที่ต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงกว่าจะมีชื่อเสียงและยังต้องทำงานอย่างหนัก พ่อของเขาจึงไม่อยากให้ลูกชายเดินตามทางนี้ แต่ลูกไม่หรือจะให้หล่นไกลต้น สเตราส์ผู้ลูกรู้ตัวว่ามีเลือดแห่งดนตรีอยู่เต็มตัว จึงแอบหัดไวโอลินตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนหกขวบได้ลองเล่นเพลงวอลซ์ที่แต่งเอง เมื่อพ่อรู้จึงไม่ชอบใจอย่างยิ่ง และห้ามเขาแตะต้องไวโอลินอย่างเด็ดขาด แต่เขาก็ยังแอบเรียนดนตรีอย่างลับต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนจากแม่ เนื่องจากพ่อของเขาใช้เวลาและทรัพย์สินส่วนใหญ่ไปกับเมียน้อย แม่ของเขาจึงยอมอดออมสนับสนุนลูกชายอย่างเต็มที่ เขาพัฒนาฝีมือจนแก่กล้าขึ้นและได้เปิดการแสดงครั้งแรกที่ Dommayer’s Casino ที่เมืองไฮท์ซิง (Hietzing) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2387 สเตราส์ในวัย 19 ปีประสบความสำเร็จมาก ชาวเวียนนาแห่ไปดูกันเนืองแน่น จนในที่สุดก็ได้พบว่าจ้าวแห่งเพลงวอลซ์คนใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว ภายหลังชื่อเสียงของสเตราส์ผู้พ่อเริ่มลดความนิยมลง ลูกชายของเขาก็เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาแทน และได้เล่นเพลงของพ่อเพื่อเป็นการขออภัย ซึ่งพ่อของเขาก็ภูมิใจในตัวลูกชายคนนี้ไม่น้อย แต่ก็ไม่เคยพบหน้ากันจนกระทั่งพ่อของเขาป่วยเสียชีวิตในปี 2392 สเตาส์ลูกชายจึงได้รวมวงของพ่อเข้ากับวงของตน เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2442 ตลอดชีวิตเขาแต่งเพลงไว้จำนวนมาก ทั้งโอเปรา โอเปอเร็ทตา มาร์ช บัลเลต์ โพลกา และเพลงวอลซ์ เพลงวอลซ์ของเขามีลักษณะเหมือนซิมโฟนี มีผลงานที่ยิ่งใหญ่หลายเพลง อาทิ The Blue Danube, Wine Woman and Song, Tales from Vienna Woods, Voises of Spring, Arstist’s Life และ Emperor Waltz


Vladimir Ilyich Lenin

 
         วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน (Vladimir Ilyich Lenin) ผู้นำคนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR) เกิดวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2413 เมืองเมืองซิมเบิร์ซค์ (Simbirsk) ประเทศรัสเซีย ชื่อเดิมคืออูเลียนอฟ (Ulyanov) เรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาซานและเซนปีเตอร์สเบิร์ก เขาเริ่มงานด้านกฎหมายในปี 2434 จากนั้นจึงศึกษาปรัชญามาร์กซิสม์และโฆษณาชวนเชื่อในการปฏิวัติจนถูกจับขังคุกและถูกเนรเทศไปที่ไซบีเรีย
เมื่อออกจากคุกก็ทำงานเคลื่อนไหวในขบวนการใต้ดินมาตลอด จนก้าวขึ้นหัวหน้าพรรค บอลเชวิค (Bolshevik) ทำการปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution) ล้มล้างระบอบกษัตริย์
ในปี 2460 เลนินขึ้นเป็นผู้นำประเทศและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น ระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นประเทศแรกในโลก จากนั้นเขาเจรจาสงบศึกกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อนำกองทัพแดง (คอมมิวนิสต์) เอาชนะกองทัพขาว (ฝ่ายนิยมกษัตริย์) ในสงครามกลางเมืองรัสเซีย (Russian Civil War) เขาได้ปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างถึงรากเพื่อล้มล้างระบบทุนนิยม
ในบั้นปลายชีวิตเขาสุขภาพย่ำแย่และเสียชีวิตด้วยสาเหตุเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2467 เลนินเขียนหนังสือและบทความไว้จำนวนมากเพื่อเผยแพร่แนวคิดของเขา เช่น พัฒนาการของระบบทุนนิยมในรัสเซีย (The Development of Capitalism in Russia) รัฐและการปฏิวัติ (State and Revolution) แนวคิดของเลนินถูกเรียกว่า ลัทธิเลนินนิสม์ (Leninism)
ภายหลังจากเสียขีวิตได้ 3 วัน รัฐบาลก็เปลี่ยนชื่อเมือง เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็น เลนินกราด (Leningrad) เพื่อเป็นเกียรติแก่เลนิน กระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534 จึงเปลี่ยนชื่อกลับเป็นเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเหมือนเดิม ปัจจุบันศพเลนินได้ถูกแสดงไว้ที่ Lenin Mausoleum กรุงมอสโก


Dmitri Ivanovich Mendeleev

  


ชายคนนีชื่อ ดิมิทรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitri Ivanovich Mendeleev) และเขาเป็นผู้มีส่วนในการสร้างสรรค์ ตารางธาตุ (Periodic Table of Elements) มากกว่าคนอื่นๆ เพราะฉะนั้นเขาควรจะได้โด่งดังมากกว่า 15 นาที แต่วันนี้เราจะให้เขาแค่ 3 นาทีครับ

เมนเดเลเยฟเกิดในไซบีเรีย เมื่อปี 1834 ในครอบครัวที่มีลูก 11-17 คน ไม่มีใครรู้แน่ชัดครับ ตอนเป็นวัยรุ่น เขาเกือบต้องตายด้วยวัณโรค (tuberculosis)  ด้วย แต่โชคดีสำหรับพวกเราที่เขารอด และโชคดีที่แม่ของเขาทุ่มเทความเชื่อมั่นทั้งหมดไปที่ลูกชายคนนี้ และส่งเขาไปเรียนเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก หลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กด้วย ดุษฎีนิพนธ์ของเขามีหัวข้อว่า ส่วนผสมระหว่างน้ำและแอลกอฮอล์” (The Combination of Water and Alcohol) ผมรู้ว่ามันฟังดูน่าเบื่อ แต่มันจะมีประโยชน์ภายหลังครับ

ระหว่างปี 1868-1870 เป็นช่วงที่เมนเดเลเยฟเริ่มสร้างสรรค์ผลงานชื่อ หลักการวิชาเคมี” (The Principles of Chemistry) นั่นเป็นตอนที่เขาคิดค้นแนวคิดทรงอิทธิพลของเขาขึ้นมา นั่นคือ กฎตารางธาตุ” (Periodic Law) ทฤษฎีนี้บอกไว้ว่า ถ้าคุณจัดธาตุที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้กลุ่มเดียวกันและเรียงตามน้ำหนักอะตอม (atomic weight) ธาตุต่างๆจะเรียงตัวเป็นช่วงๆ

เขาอธิบายเรื่องนี้ไว้ในตารางธาตุเริ่มแรกที่ปฏิวัติวงการของเขา สมัยนั้นมีธาตุที่ถูกค้นพบแล้วประมาณ 60 ธาตุ และมันหน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ ไม่ได้เหมือนตารางที่อยู่บนกำแพงห้องเรียนเคมีของคุณเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณลองเอียงมัน 90 องศา ก็จะเริ่มเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของตารางธาตุในปัจจุบัน

หนึ่งในความมหัศจรรย์ของการค้นพบของเมนเดเลเยฟก็คือ เขาค้นพบสิ่งนี้ได้ 25 ปีก่อนที่เราจะค้นพบอิเล็กตรอน สมัยนั้นทุกๆคนในโลกวิทยาศาสตร์คิดว่า อะตอมเป็นอนุภาคพื้นฐานที่สุด ดังนั้นวิธีกำหนดน้ำหนักของธาตุก็คือ นำธาตุนั้นมาเทียบกับธาตุที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ซึ่งก็คือไฮโดรเจน ซึ่งจนปัจจุบันก็ยังเป็นไฮโดรเจนอยู่ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งมาค้นพบวิธีบอกน้ำหนักธาตุได้เที่ยงตรงมากขึ้นในภายหลัง โดยการวัดน้ำหนักของโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนภายในอะตอม

อีกหนึ่งสิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับเมนเดเลเยฟ นอกจากที่เขาจัดเรียงธาตุตามน้ำหนักอะตอม ซึ่งใครๆก็คิดได้แล้ว เขายังพบว่าตารางของเขามีช่องว่างอยู่ และเขาตั้งทฤษฎีไว้ว่า ธาตุเหล่านั้นจะต้องถูกค้นพบในอนาคต และเขายังสามารถคาดเดาคุณสมบัติของธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบเหล่านั้นได้อย่างแม่นยำด้วย จาก 10 ธาตุที่เมนเดเลเยฟคาดเดาไว้ในตารางธาตุของเขา 7 ธาตุได้ถูกค้นพบในที่สุด

ความสำเร็จของเขาทำให้เขาเป็นผู้ทรงอิทธิพลในวงการ และรวมถึงมีอิทธิพลแง่ชีวิตส่วนตัวเขาด้วย

ในช่วงปี 1880 เมนเดเลเยฟเกิดไปคลั่งไคล้เพื่อนสนิทของหลานสาวเข้า และขู่ว่าเขาจะฆ่าตัวตายถ้าเธอไม่ยอมแต่งงานด้วย ปัญหาก็คือเขาแต่งงานมีภรรยาอยู่แล้ว เขาก็เลยหย่าขาดกับภรรยาและแต่งงานกับเพื่อนของหลานสาวแทน ซึ่งตามความเชื่อของโบสถ์รัสเซียออร์โธดอกซ์ นี่เป็นการสมรสซ้อน (bigamy) ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์ความผิดทางศีลธรรมของเขา แต่พูดกันว่า พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์กล่าวว่า ถึงเมนเดเลเยฟจะมีภรรยาสองคน แต่เรามีเมนเดเลเยฟแค่คนเดียว

ดังนั้น เมื่อพระเจ้าซาร์เข้าข้าง เขาจึงได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการชั่งและการตวงวัด ซึ่งหนึ่งในหน้าที่ของเขาก็คือการวางมาตรฐานให้การผลิตเหล้าวอดก้า เพราะเขานี่เอง วอดก้าของรัสเซียจึงมีปริมาณแอลกอฮอล์ 40 เปอร์เซ็นต์จนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้เขายังเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาเรื่องปิโตรเลียมและช่วยก่อตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของรัสเซียด้วย

สินค้าส่งออกเพียงสองอย่างของรัสเซียที่ชายคนนี้ไม่ได้มีส่วนช่วยพัฒนา ก็คงจะมีแค่ คาเวียร์ และ เพลงโพลก้าแบบฮิปฮอป

ในปี 1906 เมนเดเลเยฟได้ถูกเสนอเข้าชิงรางวัลโนเบล สำหรับทฤษฎีตารางธาตุของเขา แต่เขากลับไปทำให้นักเคมีทรงอิทธิพลชาวสวีเดนคนหนึ่งโกรธเข้า โดยไปวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีของนักเคมีคนนั้น ก็เลยถูกล๊อบบี้และไม่ได้รับรางวัล

 


เมนเดเลเยฟเสียชีวิตในปีต่อมาด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ เขาเป็นเลิศทั้งด้านเกี่ยวกับธาตุ ปิโตรเลียม แอลกอฮอล์ และการสมรสซ้อนด้วย ถึงเขาจะไม่ได้รับรางวัลโนเบล แต่สุดท้ายเขาก็ได้รับการยกย่องทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือ มีธาตุที่ถูกตั้งชื่อตามเขา ซึ่งเป็นธาตุใหม่ที่สังเคราะห์ได้และยังมีกัมมันตรังสีสูงด้วย นั่นคือ ธาตุเมนเดเลเวียม (mendelevium) ครับ

Cathedral of St.Basil the Blessed And The Red Square , Moscow , Russia



เมื่อพูดถึงประเทศรัสเซีย หรือกรุงมอสโคว์ หลายๆท่านคงนึกถึง
จตุรัสแดง พระราชวังเครมลิน และโบสถ์เซนต์บาซิล ซึ่งมีสีสรรสดใสสวยงาม
สำหรับบล็อกนี้ ผมขอพาไปชมความงามของโบสถ์เซนต์บาซิล
และบรรยากาศรอบๆจตุรัสแดงในยามเย็นที่แสนสวยงามกันครับ




ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวประเทศรัสเซีย
คือช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาของฤดูใบไม้ร่วง
ซึ่งช่วงเวลานี้จะเป็นช่วงที่มีกาศเย็นสบายไม่หนาวหรือไม่ร้อนจนเกินไปนัก
เป็นช่วงที่ใบไม้เริ่มเปลี่ยนสี ทำให้สีสรรของกรุงมอสโคว์แลดูสดใสเป็นพิเศษ 




โบสถ์เซนต์บาซิล มีชื่อว่า Cathedral of the Intercession
หรือในอีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Cathedral of St.Basil the Blessed


โบสถ์เซนต์บาซิล ตั้งอยู่บริเวณจตุรัสแดง ภายนอกพระราชวังเครมลิน
ซึ่งเยื้องกับหอนาฬิกา Spasskaya Tower ที่เป็นส่วนหนึ่งของกำแพงพระราชวัง
 




โบสถ์เซนต์บาซิล สร้างขึ้นตามพระราชโองการของพระเจ้าอีวาน Ivan
เพื่อเฉลิมฉลองให้กับการที่รัสเซีย รบชนะจากการคุกคามของทหารมองโกล
หรือ Tartar Mongols ในปี คศ 1552 ที่บริเวณชายแดนเมือง Kazan




โบสถ์เซนต์บาซิลแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างปี คศ 1555 - 1561
โดยสถาปนิกชาวรัสเซียที่มีนามว่า Postnik Yakovlev
มีเรื่องเล่ากันว่า พระเจ้าอีวานทรงพอพระทัยและชื่นชมความงดงามของโบสถ์แห่งนี้มาก
และมีรับสั่งให้ทำลายดวงตาของ สถาปนิก Postnik Yakovlev ให้บอดสนิทเสีย
เพื่อไม่เขาได้มีโอกาส ได้สร้างสรรผลงานที่มีความงดงามมากไปกว่าโบสถ์แห่งนี้อีก
จนพระองค์ ได้รับสมยานามว่า พระเจ้าอีวานใจร้าย (Ivan the Terrible)









บริเวณหน้าทางเข้าโบสถ์เซนต์บาซิล มีอนุสาวรีย์ของสองวีรชน
คือ Kuzma Minin และ Dmitry Pozharsky ผู้ซึ่งเสียสละตนเป็นอาสาสมัคร
เป็นทหารในระหว่างที่รัสเซียเกิดสงครามและถูกรุกรานจากประเทศโปแลนด์




บรรยากาศยามเย็นบริเวณจตุรัสแดง จะคับคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยว
และหนุ่มสาวประชาชนชาวรัสเซียที่ออกมาเดินเล่นพักผ่อนกัน
ผมจะพาเดินชมบรรยากาศจากบริเวณโบส์เซนต์บาซิล ผ่านหน้าห้างสรรพสินค้ากุม
ตรงไปยังหน้าภิพิธภัณฑ์แห่งชาติ แวะชมโบสถ์คาซาน และหอคอยต่างๆ
แล้วเดินย้อนกลับมาชมความงามของโบสถ์เซนต์บาซิลกันอีกครั้งหนึ่งครับ




จตุรัสแดง คือลานจตุรัสด้านข้างพระราชวังเครมลิน
ที่มาของชื่อจตุรัสแดง ก็สืบเนื่องมาจากสีแดงของกำแพงพระราชวังนั่นเอง
สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของกำแพงพนะราชวังเครมลินแห่งนี้ก็คือ หอสูงต่างๆ
 



ซึ่งแต่ละหอก็จะมีรูปลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป และมีชื่อเรียกต่างกันไป
เช่น Spasskaya , Nikolskaya , Senetskaya , Tsarskaya , Nabatnaya เป็นต้น








GUM Department Store เป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่และหรูหราที่สุดของประเทศรัสเซีย
สร้างขึ้นระหว่าง ปี 1890 - 1893 โดย Alexander Pomerantsev
 



เป็นงานสถาปัตยกรรมแนวรัสเซียประยุกต์ ประกอบด้วยซุ้มหลักจำนวน 3 ซุ้ม
ภายในตัวอาคารจะมีหลังคาเป็นโดมแก้วใสยาวตลอดแนวตัวอาคาร แลดูหรูหรางดงาม
และมีสินค้าแบรนด์เนมจากทั่วทุกมุมโลกมารวมกันไว้ที่ห้างสรรพสินค้ากุมแห่งนี้




ที่สุดลานทางด้านทิศตะวันตกของจตุรัสแดงเป็นที่ตั้งของพิภิธพัณฑ์แห่งชาติรัสเซีย
The State Historical Museum เป็นอาคารที่มีสีแดงเด่นสง่า และดูอลังการงดงาม




อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างปี คศ 1875 - 1881 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวรัสเซีย
ที่มีชื่อว่า V. Sherwood และเปิดให้เข้าชมในปี 1894 โดย Tsar Alexander III.








ไม่ไกลจาก The State Historical Museum คือ โบสถ์ Kazan Cathedral
ซึ่งโบสถ์ที่เห็นอยู่นี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปีคศ 1990 และทำพิธีเปิดเมื่อปี 1993
(เดิม Kazan Cathedral ถูกสร้างขึ้นเมื่อระหว่างปี 1636 แต่ถูกทำลายไป)




เมื่อตะวันเริ่มลับขอบฟ้า เราก็จะพบกับแสงสีที่สวยงาม
ห้างสรรพสินค้ากุมจะเปิดไฟประดับรอบตัวอาคาร แลดูสว่างไสว




ยอดโดมสูงและบริเวณกำแพงของพระราชวังเครมลิน
ก็จะเปิดไฟส่องให้ตัวอาคารต่างๆและยอดโดมแลดูโดดเด่นท่ามกลางความมืด




โบสถ์เซนต์บาซิลเองแลดูสดใสงดงามยิ่งขึ้นท่ามกลางแสงไฟ







โบสถ์เซนต์บาซิล เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียนออโทด๊อกซ์
Russian Orthodox ที่ยอมรับกันว่าเป็นอาคารสถาปัตยกรรมที่สวยที่สุดในกรุงมอสโคว์











โบสถ์เซนต์บาซิล ประกอบไปด้วยยอดโดมทั้งหมด 9 ยอด
มียอดกลางสูงเด่นและล้อมรอบไปด้วยยอดอีก 8 ยอด
ซึ่งแต่ละยอดจะเป็นตัวแทนของ ดวงดาว 8 ดวง หรือ 8 วัน ตามปฏิทินของยิวโบราณ
ซึ่งรวมแล้วหมายถึง New Jerusalem ดินแดนที่เป็นสรวงสวรรค์ ตามความเชื่อดั้งเดิม










ความงดงามของโบสถ์เซนต์บาซิล และจตุรัสแดง แห่งกรุงมอสโคว์
ยังคงอยู่ในความทรงจำตลอดไป ยากแก่การลืมเลือน